วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเพาะปลูกดอกกล้วยไม้

การเพาะปลูกดอกกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้ย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูกในภาชนะ
เมื่อกล้วยไม้ในขวดมีรากและใบสมบูรณ์จึงนำออกจากขวดล้างวุ้นออกด้วยน้ำสะอาด แล้วปลูกลงในกระถางขนาดปากกว้าง 3.5-4.5 นิ้ว กระถางละ 25-40 ต้น เรียกว่ากระถางหมู่ โดยใช้ถ่านและออสมันด้าเป็นเครื่องปลูก เนื่องจากขณะลูกกล้วยไม้อยู่ในขวดจะได้รับสภาพที่มีความชื้นสูงมาก เมื่อนำออกจากขวดในระยะแรกจึงต้องปลูกเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้นสูงและอับลม เช่น ตู้ที่คลุมด้วยพลาสติกใส รดน้ำให้ชุ่มปิดไว้ 2 วัน หลังจากนั้นจึงปิดฝาเฉพาะกลางวัน เปิดกลางคืนอีก 2 วัน แล้วเปิดฝาออกเลย 3 วัน จึงนำออกจากตู้พลาสติก วางไว้ในเรือนกล้วยไม้จนเจริญเติบโตได้ขนาด คือ ถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ควรมีใบยาว 5-7 ซม. ส่วนกล้วยไม้ประเภทแตกกอควรมีลำลูกกล้วยสูง 5-7 ซม. จึงย้ายลงสู่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้น นอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน 

การเพาะปลูกมะละกอ

การเพาะปลูกมะละกอ
วิธีการปลูกมะละกอ
การเตรียมดินสำหรับเพาะกล้า โดยทั่วไป การใช้ดินสำหรับเพาะกล้านั้น มีส่วนผสม คือ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ผสมกับ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่ลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด คอยหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้เปียกจนเกินไป คอยดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังจากเมล็ดเริ่มงอกแล้ว ดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในหลุมปลูกได้
การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ
มะละกอนั้น จัดได้ว่าเป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ควรทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตราประมาณ 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมีอีกที แล้วนำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบโคนเล็กน้อยด้วยดินและปุ๋ยหมัก ปิดด้วยฟางหรือแกลบ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นมะละกอ ไม่ให้โยกขณะลมพัด
การดูแลรักษา
1. การให้ปุ๋ย
- ควรให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
- ควรให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว ในอัตรา 1ช้อนแกงต่อต้น ต่อหลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
2. การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่ไม่ควรให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอเกิดบวมน้ำ มีอาการใบเหลืองและต้นจะเน่าและตายในที่สุด
3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
4. การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเพาะปลูกมะเฟือง

การเพาะปลูกมะเฟือง

ขั้นตอนการปลูก
การเตรียมดินหรือพื้นที่ปลูกควรให้เป็นที่โล่งแจ้งขุดหลุมกว้างประมาณ 50x50x50 นำดินที่ขุดขึ้นมาผสมปุ๋ยคอก (ในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้มูลไก่ เป็ด หรือค้างคาวที่แห้ง ยกเว้นมูลวัว ควาย เพราะจะทำให้เปรี้ยว หรือใช้ปุ๋ยหมัก) ตากแดดให้แห้งบริเวณปากหลุมประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจะนำกิ่งพันธุ์มาปลูกโดยยังไม่ต้องตัดผ้าพลาสติกจากรอยทาบหรือต่อตาออก ปลูกโดยกลบดินให้รอยทาบอยู่เหนือพื้นดินเล็กน้อย ปักหลักยึดลำต้นให้แน่น รดน้ำทุกวัน เมื่อปลูกได้ประมาณ 3 เดือน ให้เอาผ้าพลาสติกออก และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 เล็กน้อยให้น้ำพอประมาณ ไม่ต้องทุกวัน เมื่อเจริญเติบโตดี แตกกิ่งก้านสาขาให้ตัดแต่งกิ่งที่ห้อยหรือไม่สมบูรณ์ออก เมื่อปลูกได้ประมาณ 6 เดือน จะเริ่มให้ดอก ให้ปลิดทิ้งก่อน เพราะต้นยังเล็กอยู่ เมื่อมีอายุได้ 10-12 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยมูลไก่แห้งบริเวณโคนต้นรสน้ำให้ชุ่ม จะทำให้เกิดดอก ฉีดฮอร์โมนขยายรังไข่ เมื่อดอกผสมเกสรจนติดลูกแล้ว ให้ปลิดลูกที่ไม่ได้ทรงและลูกที่อยู่ปลายกิ่งออกให้หมด เหลือลูกที่ติดลำต้น และกิ่งใหญ่ไว้ประมาณ 6-10 ลูก แล้วห่อผลด้วยถุงพลาสติกขนาด 6x14 นิ้ว โดยใช้มีดกรีดก้นถุงให้เป็นรูระบายอากาศ หากลูกถูกแดดจัดให้ใช้กระดาษทำกรวยครอบอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือนครึ่ง ลูกจะแก่ หากต้องการเพิ่มรสชาติให้ใช้ปุ๋ยโปรแตสเซียมใส่เล็กน้อย ก่อนเก็บผลประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อสีผลออกเหลืองแล้วจึงเก็บมารับประทาน 



การเพาะปลูกส้มโอ

การเพาะปลูกส้มโอ
การปลูก
การเตรียมดิน 

วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดินและความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
ไถดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 20-25 วัน พรวนย่อยดินอีก 2 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ และคราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง
พื้นที่ดอนที่น้ำไม่ท่วมขัง ไม่ต้องยกร่อง ควรทำร่องน้ำตามความยาวของพื้นที่ กว้าง 25 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร ทุกระยะ 100 เมตรของแนวปลูก หรืออาจยกร่องเป็นลักษณะลูกฟูก เพื่อระบายน้ำโดยทำการกักน้ำเป็นจุด ๆ ขณะที่น้ำไหลผ่านร่องตลอดเวลา
พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมขัง ปลูกบนสันร่องกว้าง 6-7 เมตร ระหว่างร่องกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ควรยกร่องในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้ส้มโอได้รับแสงแดดสม่ำเสมอและทั่วถึง หากเป็นที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวน และฝังท่อระบายน้ำเข้าและออกจากสวน เพื่อควบคุมระดับน้ำในสวนได้ตลอดเวลา
วิธีปลูก 
วางต้นพันธุ์ส้มโอในหลุมให้รอยต่อระหว่างต้นตอและราก สูงกว่าระดับพื้นดินปากหลุมเล็กน้อย
ใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้งสองด้าน แล้วดึงถุงพลาสติกออกระวังอย่างให้ดินแตก
กลบดินที่เหลือลงในหลุม ซึ่งจะนูนเหมือนหลังเต่า แล้วกดดินบริเวณรอบต้นตอให้แน่น
ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดต้นเพื่อป้องกันการโยกคลอนของต้นพันธุ์
คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง
รดน้ำให้ชุ่ม
การให้น้ำ
ความต้องการน้ำของส้มโอประมาณ 0.6 เท่าของค่าอัตราการระเหยน้ำ (มิลลิเมตรต่อวัน) คูณด้วยพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม เช่น เมื่ออัตราการระเหยน้ำวันละ 3.8-5.7 มิลลิเมตร มีพื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร เท่ากับการให้น้ำ 2.3-3.4 ลิตรต่อต้นต่อวัน
ส้มโออายุ 4 ปี เริ่มให้ผลผลิต ควรงดให้น้ำ 15-30 วันก่อนออกดอก เพื่อให้ส้มโอออกดอกและติดผลได้ดี ไม่แตกยอดอ่อน
ควรงดให้น้ำช่วงส้มโอออกดอก เพื่อป้องกันดอกร่วงและเริ่มให้น้ำอีกหลังช่อดอกเริ่มพัฒนา โดยเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยจนถึงระดับการให้น้ำปกติ
ถ้าใบอ่อนเริ่มห่อตัวแสดงว่าส้มโอขาดน้ำ ควรรีบให้น้ำ 





การเพาะปลูกมะขาม

การเพาะปลูกมะขาม
การปลูก
กำหนดหลุมปลูกในแปลงก่อน โดยใช้ระยะปลูก 8 x 8 เมตร (ระยะห่างระหว่างแถว 8 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร) ซึ่งจะปลูกได้ 25 ต้นต่อไร่ ควรมีการเตรียมหลุมปลูก ดินที่ขุดจากหลุมปลูกให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ตากดินที่ขุดขึ้นมาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วผสมดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ต่อหลุม จากนั้นจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอาดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุมก่อนแล้วจึงกลบทับด้วยดินชั้นล่าง สำหรับฤดูปลูกควรจะปลูกต้นฤดูฝน เพราะเมื่อปลูกเสร็จแล้วต้นมะขามที่ยังเล็กอยู่จะได้รับน้ำฝน สามารถตั้งตัวได้ดีก่อนจะเขาถึงฤดูแล้ง ต้นมะขามที่ปลูกใหม่ควรจะผูกยึดกับหลัก เพื่อให้ต้นมะขามขึ้นตรงไม่โค่นล้มเนื่องจากลมแรงก่อนจะปลูก หากปลูกด้วยกิ่งทาบจำเป็นต้องแกะเอาเชือกฟางหรือผ้าพลาสติกตรงรอยต่อออกเพราะถ้าไม่ได้แกะออก จะทำให้ต้นมะขามแคระแกร็นหรืออาจจะตายได้
ในช่วงแรกของการปลูก เนื่องจากการปลูกมะขามหวาน ใช้ระยะห่าง 8 x 8 เมตร ขณะที่มะขามหวานยังเล็กอยู่ อาจจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวได้ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง สับปะรด หรือพริก อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ต่อเนื้อที่ให้มากขึ้น


การเพาะปลูกพุทธรักษา

การเพาะปลูกพุทธรักษา
การปลูกพุทธรักษา นิยมปลูก 2 วิธี
1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร
โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30x 30
 แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด ขนาดหลุม
ปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก
2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถาง12ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อ
แน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษาพุทธรักษา
แสง ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง
ดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง 

การเพาะปลูกฟักทอง

การเพาะปลูกฟักทอง
การเตรียมดิน
การปลูกฟักทองคล้ายๆ กับแตงโม ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด
การปลูก พันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร
พันธุ์ที่มีทรงต้นพุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75x150 ซม. (พันธุ์เบา)
ใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็วการหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก
การดูแลรักษาและใส่ปุ๋ย
เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน
เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน

เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน
พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา
การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ

การเพาะปลูกหัวไชเท้า

การเพาะปลูกหัวไชเท้า


การปลูกและการดูแล รักษาผักกาดหัว (หัวไชเท้า)
ควรปลูกผักกาดหัวในดินร่วนปนทราย ไม่ควรปลูกในดินเหนียวจัด จะลงหัวได้ลำบาก ต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 18 – 25 องศาเซลเซียส ผักกาดหัวเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรพรวนดินอย่างดี ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก เพื่อบำรุงดินประมาณ 3 ตันต่อไร่ ยกแปลงปลูกขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ใช้ระยะปลูก 20-30 x30-45 ซม. โดยใช้เมล็ดหยอดเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 30-45 ซม.กลบเมล็ดลึก 1-1.5 ซม. ด้วยดินร่วนผสมปุ๋ยคอกอย่างละเอียด รดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟาง เมื่อต้นกล้างอกและมีใบจริงแล้ว 2 – 3 ใบ ให้ถอนแยกเหลือต้นที่แข็งแรงไว้ในระยะห่างแต่ละต้นประมาณ 20 – 30 ซม.
การให้น้ำ ผักกาดหัว (หัวไชเท้า) จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าผักกาดหัวขาดน้ำหัวจะไม่เจริญเติบโตและจะมีเส้นใยมาก

การใส่ปุ๋ย ผักกาดหัว (หัวไชเท้า) ในระยะต้นกล้าเริ่มตั้งตัวให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 20-25 วัน ให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประมาณ 100 – 150 กิโลกรัมต่อไร่

การเพาะปลูกมันฝรั่ง

การเพาะปลูกมันฝรั่ง
การปลูกมันฝรั่งให้มีคุณภาพดี
1. เลือกพันธุ์ปลูก พันธุ์มันฝรั่งที่เหมาะสมสำหรับแปรรูปมีอยู่หลายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีปริมาณน้ำหนักแห้งสูงกว่าพันธุ์อื่น เช่น พันธุ์แอตแลนติค มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งหรือความถ่วงจำเพาะสูงกว่าพันธุ์เคนนีเบค อย่างไรก็ตามเรื่องพันธุ์ปลูกอาจจะถูกกำหนดโดยบริษัทที่สั่งหัวพันธุ์เข้ามาหรือจากโรงงานแปรรูป ในบางกรณีอาจจะต้องพิจารณาถึงลักษณะอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ผลผลิต ความต้านทานโรค
2. การเตรียมดิน ควรไถตากดินอย่างน้อย 15 วัน ก่อนเตรียมแปลงปลูกเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดิน
3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุย
4. ใส่ปูนมาร์ลหรือโดโลไมท์ เพื่อปรับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
5. ควรปลูกมันฝรั่งโดยเร็วเท่าที่จะทำได้ในช่วงต้นฤดูปลูก เพื่อให้ต้นมันฝรั่งมีช่วงการเจริญเติบโตยาวนานขึ้น มันฝรั่งจะมีการสะสมน้ำหนักแห้งได้มากขึ้นทำให้คุณภาพดี
6. การใส่ปุ๋ย อัตราปุ๋ยที่แนะนำ คือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ช่วงเตรียมหลุมปลูก และปุ๋ยยูเรีย 25 กิโลกรัม/ไร่+โปแตสเซี่ยมวซัลเฟต อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ ช่วงอายุได้ 20-30 วัน หลังจากปลูก
7. การให้น้ำ ให้น้ำน้อยช่วงเริ่มปลูก และเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หลังจากมันฝรั่งเริ่มเจริญเติบโต และงดการให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 2 สัปดาห์ อย่าเว้นระยะการให้น้ำนานเกินไป จนความชื้นในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง เกิน 50 เปอร์เซ็นต์

8. วางแผนการพ่นสารเคมีควบคุมโรคและแมลง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นมันฝรั่งถูกทำลาย ควรหมั่นเดินตรวจแปลงปลูก เพื่อทราบชนิดของโรคและแมลงที่เริ่มปรากฏ ทำให้สามารถวางแผนการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดได้ถูกต้อง
9. เก็บเกี่ยวเมื่อต้นมันฝรั่งอายุแก่เต็มที่ ต้นและใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนอนราบกับพื้นดิน เริ่มแห้งตายหรืออย่างน้อยควรมีอายุได้ 90 วันหลังจากปลูก
10. ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนหลังจากเก็บเกี่ยวมันฝรั่งแล้ว เพื่อลดปัญหาการสะสมของโรคและแมลง 

การเพาะปลูกกล้วย

การเพาะปลูกกล้วย



วิธีการปลูก
ปลูกในที่ราบ
หลังจากกำจัดวัชพืช ขุดดินตลอดทั้งสวน ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน หลังจากนั้นจึงขุดหลุมขนาดความกว้าง ยา ลึก ด้านละ 50 เซนติเมตร กองดินชั้นบนไว้ทางหนึ่ง ดินชั้นล่างไว้ทางหนึ่ง เสร็จแล้วให้ไส่ดินชั้นบนลงไปก่อนพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วลงไปด้วยเพื่อให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วจึงวางหนอกล้วยที่เตรียมไว้ลงตรงกลางหลุม โดยให้ส่วนยอดสูงกว่าระดับดินประมาณ 4 นิ้ว ส่วนตาจะลึกในดินประมาณ 1 ฟุต การปลูกในฤดูผม ควรพูนดินกลบโคนต้นให้สูงไว้เพื่อป้องกันน้ำขัง
การปลูกแบบยกร่อง
มักใช้กันแถบภาคกลาง โดยเฉพาะกล้วยหอม จะปลูกริมสันร่องทั้ง 2 ข้างตรงกลางเว้นไว้เป็นทางเดิน ให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3 เมตร ที่ใช้ระยะปลูกถี่เช่นนี้เพราะจะมีการปลูกใหม่ทุกปี
วิธีการให้น้ำ
กล้วยเป็นพืชที่มีใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ต้องการน้ำมาก ตลอดปีมากกว่าพืชอื่น โดยเฉพาะในฤดูแล้ง และเนื่องจากรากที่หาอาหารส่วนใหญ่แผ่กระจายอยู่ใกล้กับผิวหน้าดิน จึงไม่ควรปล่อยให้พิมหน้าดินแห้งเป็นอันขาด ถ้าผิวหน้าดินแห้งแล้ว จะทำให้ผลผลิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
วิธีการใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยมาก กล่าวคือจะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรง ตกเครือเร็วและได้ผลโต การเจริญเติบโดของกล้วยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก ระยะนี้เป็นเวลาที่กล้วยต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง จะมีผมกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินในระยะที่ 2 อยู่ระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมาก

โดยหน่อที่เริ่มแตกขึ้นมาระยะที่ 3 เป็นระยะจากตกเครือจนกล้วยแก่ เป็นระยะที่กล้วยต้องการอาหารมากเหมือนกัน 

Profile


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : ธนัญญา  แย้มแก้ว
ชั้น :  ม.4/10  เลขที่ 37
ชื่อเล่น  : ฟ้า
วันเกิด : 7  พฤษภาคม  2542
น้ำหนัก :  40 กก.
ส่วนสูง : 155  ซม.
งานอดิเรก : ดูโทรทัศน์ ,อ่านหนังสือการ์ตูน
กีฬาที่ชอบ :  แบดมินตัน
อาหารที่ชอบ : กะเพราไข่ดาว
สีที่ชอบ :  สีฟ้า

อาชีพที่ใฝ่ฝัน : นิติเวช
ประเทศที่อยากไป : ฝรั่งเศส

Bookkkkkkkk